ผู้แสดง เป็นหญิงฝ่ายใน เดิมห้ามบุคคลภายนอกหัดละครใน จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงเลิกข้อห้ามนั้น ต่อมาภายหลังอนุญาตให้ผู้ชายแสดงได้ด้วย ผู้แสดงละครในต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตีบทให้แตก และมีลักษณะทีท้าวทีพญา
การแต่งกาย
พิถีพิถันตามแบบแผนกษัตริย์จริงๆ เรียกว่า "ยืนเครื่อง" ทั้งตัวพระ และตัวนาง
เรื่องที่แสดง
มักนิยมแสดงเพียง ๓ เรื่อง คือ อุณรุฑ อิเหนา และรามเกียรติ์
การแสดง ละครในมีความมุ่งหมายอยู่ที่ศิลปะของการร่ายรำ ต้องให้แช่มช้อยมีลีลารักษาแบบแผน และจารีตประเพณี
ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์เหมือนละครนอก แต่เทียบเสียงไม่เหมือนกัน จะต้องบรรเลงให้เหมาะสมกับเสียงของผู้หญิงที่เรียกว่า "ทางใน"
เพลงร้อง
ปรับปรุงให้มีทำนอง และจังหวะนิ่มนวล สละสลวย ตัวละครไม่ร้องเอง มีต้นเสียง และลูกคู่ มักมีคำว่า "ใน" อยู่ท้ายเพลง เช่น ช้าปี่ใน โอ้โลมใน
สถานที่แสดง แต่เดิมแสดงในพระราชฐานเท่านั้น ต่อมาไม่จำกัดสถานที่
นำมาจาก
http://www.thaidances.com/data/4.asp
https://www.youtube.com/watch?v=D67vEVeATnA
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น